ตื่นแต่เช้า

prairie restaurant

ปกติเป็นคนที่ชอบนอนใกล้เช้า แต่วันนี้กลับตื่นแต่เช้าตอนรุ่งสางแทน สุภาษิตคำพังเพยฝรั่งเค้าบอกว่า early bird catches worm แปลว่า นกตื่นเช้าหาหนอนกินได้ สมัยเด็กๆผมโตมาที่บ้านย่า ปู่ และแม่ใหญ่ สักตี 5 ก็ต้องตื่น เวลาแกจะปลุกให้ ตื่นก็จะร้องเพลงปลุกหลานว่า “เด็กๆอย่านอนตื่นสาย ถ้านอนตื่นสายเป็นเด็กเกียจคร้าน” ร้องเพลงไปตำหมากไปจนเด็กหลับต่อไม่ได้หรือไม่งั้นจะโดนไม้เท้าทุบหัวป๊อกๆ แล้วเด็กๆก็ต้องกุลีกุจอลุกไปล้างหน้า หลานก็เตรียมหากระติบข้าวมาให้แม่ใหญ่รอใส่บาตร เสร็จแล้วก็ไปทำงานบ้าน ก่อนไปโรงเรียนต้องไปทำงาน ขายดอกจำปีเสียบไม้หรือขายพวงมาลัยดอกมะลิอันละบาทเดียว จนถึง 7-8 โมงกว่าถึงได้กลับบ้าน เอาเงินไปเก็บ ถ้าดอกไม้ขายไม่หมดก็ฝากให้น้าขายต่อแล้วเอาเงินใส่กระป๋องไว้ให้หรือไม่ งั้นก็ไปเร่เดินขายเลหลังแจกแถมให้แม่ค้าในตลาดด้วยกันจนของหมด และนี่คือเรื่องเล่าชีวิตเช้าเมือเกือบ 20-30 ปีก่อน

เรียนภาษาอังกฤษกับเพลง

สิ่งหนึ่งที่ช่วยในการเรียนภาษาอังกฤษ คือ การเรียนแปลและร้องผ่านเพลงสากล ผมชื่นชมงานอย่างนี้ในแง่ที่ว่า การใช้สองภาษาด้วยการแปลรวมแล้วไปพร้อมๆกับเนื้อเพลงมันช่วยได้ในกระบวนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มันเป็นวิธีการเรียนภาษาแบบองค์รวม คือ ทั้งภาษาที่หนึง่และภาษาที่สองไปพร้อมๆกัน โดยมีเนื้อเพลงมาเป็นตัวขับเคลื่อนภาษา คนเรียนก็สามารถอ่านเนื้ออังกฤษและคำแปลไทยด้วยตา ส่วนหูก็ได้ยินการออกเสียงอังกฤษ กลยุทธ์นี้สามารถหาได้จากหนังซาวด์แทรคแปลไทย ช่วยให้เรียนรู้ภาษาและศัพท์ได้เป็นอย่างดีครับ

School Supplies

เล่าเรื่องลูกจะเปิดเทอม —- อีก 2 สัปดาห์ลูกก็จะเปิดโรงเรียแล้ว Pammy จะขึ้น grade 2 ส่วน Ethan จะขึ้น Pre-Kindergarten (PK) วันนี้จึงพากันไปซื้อของใช้ไปโรงเรียน ซึ่งทาง รร. จะกำหนดสิ่งของมาเป็นรายการที่ต้องซื้อเข้า รร. อาทิเช่น

สมุด 3 เล่ม
ดินสอ 2 โหล
สีเทียน 2 กล่อง
กระดาษพิมพ์งาน 2 รีม
กาวลาเท็กซ์ 2 ขวด
กระดาษทิชชู่ 2 กล่อง
แผ่นเช็ดฆ่าเชื้อโรค 1 กล่อง
ถุงพลาสติก 1 กล่อง
แก้วกินน้ำ 2 แถว
ฯลฯ

โดยสิ่งของทั้งหมด ให้นำส่งในเย็นวันปฐมนิเทศ สัปดาห์ก่อนเปิดเทอม ซึ่งให้ไปพบครูประจำชั้นในห้องเรียนต่างๆ (ไม่มี ผอ.มาพูดประชุมรวมให้เสียเวลา) ส่วนหนังสือเรียนทางรัฐจะจัดหาให้เด็กยืมเรียนหมด ไม่ต้องซื้อหา

ก่อนเปิดพ่อแม่ก็ไปลงทะเบียนให้ลูกทางออนไลน์ ใส่รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเด็กและนำส่งสำเนาหลักฐานที่จำเป็น เช่น ใบวัคซีน ใบรับรองรายได้ผู้ปกครอง บิลค่าน้ำไฟค่าเช่าบ้านเพื่อยืนยันว่ามีที่อยู่ในเขตเมืองนั้น เป็นต้น ซึ่งก็รวบรวมส่งวันปฐมนิเทศเช่นกัน

ชุดนักเรียนของเด็กที่เรียนในอเมริกาก็ไม่บังคับอะไรมาก เค้าขอให้ใส่เสื้อมีคอโปโลสีเรียบ สีอะไรก็ได้ เลือกได้หลายสี กางเกงเป็นผ้า ไม่ใช่ยีน จะจับจีบ จะดีไซน์อะไรก็ได้นิดหน่อย ไม่ฉูดฉาด ส่วนรองเท้าขอเพียงหุ้มส้น รองเท้ากีฬา รองเท้าหนังก็ใส่มาได้หมด กระเป๋าให้สะพายหลังได้เป็นพอ อะไรก็ได้ ซึ่งคุณแม่เค้าได้ทำการจักซื้อไว้ใน collection ลูกเค้าไว้หมดแล้ว

ส่วนเรื่องค่าลงทะเบียนเรียน ทางโรงเรียนไม่เก็บอะไร เพราะทางรัฐอุดหนุนให้ฟรีทุกคน รวมถึงลูกเราด้วยถึงแม้จะเป็นเด็กลูกคนต่างชาติ วันนี้ใช้เงินซื้อของใช้ให้ลูกคนละ $50 รอเปิดเทอมแล้ว สิ้นสุดซัมเมอร์ที่ยาวนาน

Hay Bales Photo = ถ่ายรูปกับกองฟาง

ฟางของเมืองอเมริกาเค้าจะทำแปลกๆ คือ เป็นก้อนกลมขนาดยักษ์ หนักเป็นร้อยๆกิโล รถเกี่ยวมาก็ม้วนๆมาเลย เห็นแล้วแปลกตาเลยถ่ายรูปไว้สักหน่อย

มหานคร Dallas ติดเกรด F เรื่องการจัดการศึกษานนอกโรงเรียน GED

GED

ข่าวเศร้าเรื่องการศึกษานครใหญ่อันดับต้นๆของอเมริกาที่่ดีเลิศด้านอื่น แต่การศึกษานอกโรงเรียน (GED) กลับห่วยแตกน่าอับอาย จากสถิติพบว่าประชากรวัยผู้ใหญ่ราว 28% ไม่มีวุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย แต่สถาบันต่างๆทั้งห้องสมุดประชาชน วิทยาลัย โรงเรียนท้องถิ่น มีอาสาสมัครติวช่วยเพื่อให้คนไปสอบเทียบ GED ได้ แต่พอไปถึงการสอบเทียบกลับมีแค่เพียง 1 ศูนย์สอบที่เปิดสอบเทียบ ซึ่งเปิดสอบได้ครั้งละ 21 ที่นั่งและเปิดแค่เดือนละ 2 ครั้ง การจองวันสอบก็ต้องโทรไปฝากข้อความที่สำนักงานเลือกผู้โชคดีที่จะได้สอบเทียบแค่รอบละ 21 คน ทำไมนคร Dallas ถึงได้ห่วยเรื่องการศึกษาขนาดนี้ เหตุผลเดียวคือ การถูกตัดงบประมาณด้าน กศน.

คนไทยอ่านแล้วก็จงภูมิใจว่าของบ้านเขาโอกาศการศึกษาลำบากยากแค้นมากขนาดไหน ของไทยมีล้นเหลือแล้วก็จงใช้โอกาศให้ดีที่สุด

Link http://www.dallasnews.com/news/columnists/steve-blow/20130814-despite-huge-need-dallas-makes-it-hard-to-get-ged.ece

ระเบียบการแต่งกายในโรงเรียนอเมริกา

school children

ในขณะที่ใครๆก็คิดว่าโรงเรียนฝรั่งที่อเมริกาแต่งอะไรไปโรงเรียนก็ได้นั้น ในความจริงแล้วเขาก็ยังมี dress code หรือระเบียบการแต่งการควบคุมอยู่ นักเรียนบางกรณีก็แค่อยากจะ “เกรียน” ก็มี แต่บางกรณีครูก็ “เกรียน” กับเด็กก็มี อาทิเช่น

  • เด็กย้อมผมสีชมพูมาเรียน เพื่อจะสนับสนุนโครงการมะเร็งเต้านม
  • เด็กใส่สายรัดข้อมือโครงการมะเร้งเต้านม ข้อความ I heart boobies เพราะแปล แฝงความหมายได้ว่า ฉันสนใจนมตู้ม
  • เด็ก 5 ขวบในรัฐโอกลาโฮมาใส่เสื้อข้อความสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมิชิแกนไปรร. ถูกครูจับใส่เสือกลับข้างในออกมาแทน เพราะกฏบอกว่าให้ใส่ได้แค่ตราสถาบันมหาวิทยาลัยของรัฐโอกลาโฮม่าเท่านั้น

เออ…อ่านไปแล้ว โรงเรียนอเมริกาก็มีเรื่องเพี้ยนๆดีเกี่ยวกับระเบียบการแต่งกาย

อ่านข่าวที่นี่
When school clothes lead to suspension
by CNN Reporter Ann Hoevel | Story Created: Aug 14, 2013

แบบฝึกหัดแกรมม่าร์

ABE Intro to Grammar – Worksheets
อันนี้มีใบงาน pdf เยอะดี
http://www.fvtc.edu/public/content.aspx?ID=1917&PID=2
กฏ comma 11 ข้อ เป็นแบบฝึกหัดให้เติมเครื่องหมายให้ถูก พร้อมทั้งอ้างอิงด้วยว่าเข้ากฏข้อใดบ้าง
https://docs.google.com/file/d/0B4xMsNe4G32CV3QyMHJNTTB3d1k/edit?pli=1

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในผู้เรียนคนต่างชาติ

Learning English as a Second Language  and English Language Learners

                                                                                                     ผู้เขียน สัญชัย ฮามคำไพ   [1]

การเรียนรู้ภาษาใหม่ เช่น ภาษาอังกฤษ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพัฒนาการทางด้านทักษะการฟัง การพูด และการจดจำ ดังนั้นครูสอนภาษาจำเป็นจำเป็นจะต้องค้นหาวิธีการใหม่ๆในการใช้สอนเพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียนและตัวครูเอง  ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับประถมศึกษา การที่นักเรียนมีแรงจูงใจ (Motivation)  คือปัจจัยหลักในการเกิดการเรียนและจดจำความรู้ได้ดี

ครูอาจจะนำเอาเครื่องมือใหม่ เช่น iPod หรือ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน มามใช้ในการสอนเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์การศึกษาเพื่อทำให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนได้ เครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กล่าวมานี้ มีความสามารถที่หลากหลาย เช่น สามารถบันทึกคำศัพท์ อัดเสียงบทสนทนาถามตอบ ใช้ตรวจสอบการออกเสียงภาษาอังกฤษ และใช้เก็บรวบรวมแบบฝึกหัดทางภาษาเพื่อเล่นและทบทวนได้เสมอ ครูอาจจะกำหนดดครงงานให้นักเรียนรวบรวมความคิดกันในกลุ่ม ว่าจะคิดสถานการณ์สนทนาในหัวข้ออะไรกันดี นักเรียนสามารถใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ในการซ้อมพูดสื่อสารเพื่อประเมินผลระหว่างกันเองก่อน หลังจากนั้นจึงบันทึกเสียงจริง และเมื่อได้บทสนทนาที่ดีที่สุดแล้ว ก็เปลี่ยนชื่อไฟล์ให้เหมาะสม และส่งให้ครูดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตได้ ครูสามารถประเมินผลงานจากไฟล์นั้น และนักเรียนก็ยังสามารถเก็บไฟล์ไว้ฟังซ้ำได้เรื่อยๆ

iPod

ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันนี้มีผู้อพยพเข้ามาใช้ชีวิตหรือโอนสัญชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นการถาวรเป็นจำนวนมาก ประชากรใหม่เหล่านั้น บางส่วนก็มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับภาษาอังกฤษและชุมชนของประเทศใหม่อยู่ ในรัฐเนบราสก้า ได้เคยมีโครงการช่วยสอนภาษาอังกฤษชื่อ Newcomers learn local history[2] โดยใช้ iPod และเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่างๆ ในการพัฒนาทักษะทางภาษาให้กับประชากรอเมริกันที่อพยพเข้ามาใหม่ อีกครั้งเครื่องมือเหล่านั้นยังช่วยในการเรียนรู้สภาพสังคมใหม่อีกด้วย โครงการนั้น ใช้การประยุกต์ทฤษฎีหพุปัญญา (Multiple Intelligence) ด้วยการผนวกเอาสื่อต่างๆ ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด เสียงดนตรี และภาพประกอบ มาใช้เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนต่างชาติที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองนั้น ได้ เรียนรู้จากบทเรียนที่เน้นหัวข้อทักษะต่างๆที่จำเป็นต่อการเรียน เช่น การศึกษาวิจัย การอ่าน การเขียน และการนำเสนอผลงาน ผู้เรียนได้รับการฝึกปฏิบัติด้วยงานเดี่ยวและกลุ่ม ในหัวข้อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชุมชนใหม่ที่อาศัยอยู่ หลังจากนั้นจึงนำเอาผลการวิจัยที่ได้มารวบรวมเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาเป็นรายงาน สุดท้ายจึงนำเสนอผลงานผ่านทางโปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ นอกจากนี้ยังฝึกให้ผู้เรียนได้แทรกภาพประกอบที่มีความหมายสัมพันธ์กับการศึกษาวิจัยนั้นๆ ในโครงงานนั้น ผู้เรียนได้มีโอกาสในการใช้ iPod บันทึกเสียงต่างๆทั้งการเก็บข้อมูลหรือผลการศึกษาต่างๆ ที่พูดด้วยภาษาอังกฤษหรือภาษาแม่ของผู้เรียนเพื่อใช้ประกอบการนำเสนอโครงงานนั้นด้วย

โครงงานมีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้

  • นำเข้าสู่บทเรียนโดยการให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างชองชีวิตในวัยเด็กกับชีวิตในปัจจุบันนี้ พร้อมวิเคราะห์ว่ามีอะไรเปลี่ยนไปหรือเหมือนเดิม อะไรเป็นสาเหตุของสิ่งที่เปลี่ยนไปนั้น
  • ให้ลองจินตนาการถึงชีวิตในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ว่าน่าจะเป็นอย่างไร อะไรที่เปลี่ยนไปบ้างเพราะ  ปัจจัยอะไรถึงทำให้ให้ไม่เหมือนเดิมจากปัจจุบัน
  • ก่อนผู้เรียนจะเริ่มโครงงานวิจัย ครูให้กรอบคำแนะนำต่างๆเบื้องต้นและเกณฑ์การประเมินผลงานที่พวกเขาจะสร้างออกมาว่าจะให้คะแนนด้านไหนบ้าง ด้วยมาตรฐานอย่างไร
  • ให้นักเรียนระดมความคิดหัวข้อศึกษาวิจัยที่พวกเขาสนใจ เกี่ยวกับชุมชนในปัจจุบันที่อาศัยอยู่เมื่อเทียบกับชุมชนที่เคยอยู่มาก่อนในอีกประเทศหนึ่ง
  • ฝึกให้นักเรียนใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เช่น ข้อมูลชุมชน ภาพประกอบต่างๆ และสามารถที่จะอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง และบันทึกผลการศึกษาที่ได้ไปบนเครื่อง iPod ด้วยโปรแกรมบันทึกเสียง หรือพิมพ์ลงบนโปรแกรม Pages หรือ AppleWorks
  • ให้นักเรียนถ่ายโอนไฟล์ไปไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์
  • กลุ่มผู้เรียนช่วยกันสร้างงานนำเสนอโดยการใช้ข้อมูลรายงาน ภาพประกอบ และไฟล์เสียงที่เก็บมาได้
  • ให้กลุ่มต่างๆออกมานำเสนอหน้าชั้น และประเมินผลงานระหว่างกลุ่มแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้เกิดการแก้ไขการทำงานของกลุ่มก่อนส่งผลงานสุดท้าย
  • ครูจัดงานนำเสนอโดยจัดงาน ELL Family Literacy Night ที่เชิญสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนมาชมการนำเสนอ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาดั้งเดิมของนักเรียน เพื่อทำให้ผู้ชมเข้าใจผลงานโครงการ

การที่สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติในสหรัฐอเมริกานั้น นอกจากครูจะมุ่งสอนทักษะภาษาเป็นหลักแล้ว ยังช่วยสร้างการรับรู้ทางวัฒนธรรมชุมชนแห่งใหม่อีกด้วย การที่นำเอาเครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาใช้นั้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีทักษะในการเรียนที่มีประโยชน์ในชีวิตการศึกษาและดำรงชีวิตต่อไปได้

 


[1] ข้อมูลผู้เขียน : นายสัญชัย ฮามคำไพ เป็นนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาอังกฤษ Ph.D. in English ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ Texas A&M University-Commerce  รัฐ Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา  e-mail: shamcumpai@gmail.com หรือ Facebook: toto sunchai hamcumpai

[2] รายละเอียดโครงการและแผนการสอน ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.westernreservepublicmedia.org/education/podcasts/localhis.pdf